บทความ
ALLA แนะนำแนวทางการตรวจ “เครน” ให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด
ALLA แนะนำแนวทางการตรวจเครน ให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด
รู้หรือไม่ !!! ทำไมถึงต้องตรวจเครนก่อนใช้งาน ☑
▶ เพื่อให้แน่ใจว่าเครนจะสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย
▶ เพื่อเตรียมความพร้อมของเครนก่อนใช้งาน และ ป้องกันการเกิดความเสียหายระวังใช้เครน
▶ เพื่อให้ทราบถึงปัญหาและข้อบกพร่องต่างๆในส่วนประกอบปั้นจั่น
▶ เพื่อปฏิบัติตามข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำงานกับปั้นจั่น
▶ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ปฏิบัติงานกับปั้นจั่น
ตามหลักเกณฑ์กฎหมายเกี่ยวกับการตรวจเครน รอก เครน ผู้ที่มีการนำปั้นจั่นมาใช้งานเราสามารถแบ่งปั้นจั่นออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้
- ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ (ปจ1)
- ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ (ปจ2)
ผู้ที่มีการใช้งานปั้นจั่น ปจ1 ปจ2 ทั้ง 2 ชนิดนี้มาใช้งานจะต้องทำการตรวจเครนตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
หมายเหตุ : การตรวจเครนวิศวกรจะต้องทำการตรวจสอบตามแบบฟอร์มที่ราชการกำหนดเท่านั้นคือ แบบฟอร์ม ปจ.1 ปจ.2 วิศวกรผู้ตรวจสอบจะต้องทำการลงบันทึกรายงานในแบบฟอร์มขณะทำการตรวจสอบเพื่อออกใบรับรองให้กับปั้นจั่นตัวที่ไปตรวจสอบ
การตรวจ “เครน” ให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดนั้น ผู้ตรวจสอบต้องมีคุณสมบัติดังนี้
- ต้องเป็นวิศวกรเครื่องกล ระดับ ภาคีขึ้นไป และมีใบ กว.
- ต้องได้รับนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตจากกรมสวัสดิการ และ คุ้มครองแรงงาน ตามมาตรา 11
- ต้องได้รับบุคคลที่ได้รับอนุญาตจากกรมสวัสดิการ และ คุ้มครองแรงงาน ตามมาตรา 9
ตามหลักเกณฑ์กฎหมายเกี่ยวกับการตรวจปั้นจั่น อ้างอิง ” กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564 หมวดที่ 2 ส่วนที่ 1 ” นายจ้างจะต้องจัดให้มีการทดสอบเครนโดยวิศวกรฯ
ตรวจเครน ให้ถูกต้องตามที่กฎหมายต้องตรวจอะไรบ้าง
- ตรวจสอบควบคุมให้มีลวดสลิงเหลืออยู่ในม้วนลวดสลิงไม่น้อยกว่ำสองรอบตลอดเวลาที่ปั้นจั่นทำงาน
- ตรวจสอบจัดให้มีชุดล็อกป้องกันลวดสลิงหลุดจากตะขอของปั้นจั่นและทำการตรวจสอบให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อย่างปลอดภัย
- ตรวจสอบจัดให้มีที่ครอบปิดหรือกั้นส่วนที่หมุนรอบตัวเอง ส่วนที่เคลื่อนไหวได้ หรือส่วนที่อาจเป็นอันตรายของปั้นจั่น และ ให้ส่วนที่เคลื่อนที่ของปั้นจั่นหรือส่วนที่หมุนได้ของปั้นจั่นอยู่ห่างจากสิ่งก่อสร้าง หรือ วัตถุอื่นในระยะที่ปลอดภัย
- ตรวจสอบให้ลูกจ้างสวมใส่เข็มขัดนิรภัย และ สายช่วยชีวิตตลอดเวลาที่ทำงานบนแขนปั้นจั่นหรือ ชุดสะพาน
- พื้นกันลื่นราวกันตก และ แผงกันตกระดับพื้นสำหรับปั้นจั่นชนิดที่ต้องมีการจัดทำพื้น และ ทางเดิน
- ตรวจสอบการจัดให้มีเครื่องดับเพลิงที่เหมาะสมและพร้อมใช้งานไว้ที่ห้องบังคับปั้นจั่น หรือ ตำแหน่งที่สามารภใช้งานได้สะดวก
- ตรวจสอบการติดตั้งปั้นจั่นบนฐานที่มั่นคงโดยวิศวกรเป็นผู้รับรอง
- ตรวจสอบการติดตั้งชุดควบคุมการทำงานเมื่อยกวัสดุขึ้นถึงตำแหน่งสูงสุด (upper limit switch ) ที่ใช้งานได้ตามปกติ
- ตรวจสอบชุดควบคุมพิกัดน้ำหนักยก (overload limit switch) ที่ใช้งานได้ตามปกติ
- ตรวจสอบสัญญาญเสียง และ แสงไฟเตือนภัยตลอดเวลาที่ปั้นจั่นทำงาน โดยติดตั้งไว้ให้เห็น และ ได้ยินชัดเจน
- ตรวจสอบป้านบอกพิกัดน้ำหนักยกไว้ที่ปั้นจั่น และ รอกของตะขอพร้อมทั้งติดตั้งป้ำยเตือนให้ระวังอันตรายที่ลูกจ้างเห็นได้ชัดเจน
- ตรวจสอบคู่มือการทำงานกับปั้นจั่นเพื่อให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัย
การตรวจปั้นจั่นจะต้องเป็นไปตามกฎหมาย หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่น พ.ศ. 2554
นอกเหนือจาก การตรวจ “เครน” แล้วนั้นยังมีอีกหลายส่วนที่เราจะต้องทำการตรวจสอบจำพวกอุปกรณ์ช่วยยกในงานเครน Standard Lifting Equipment ยกตัวอย่างเช่น
- ลวดสลิง (Steel Wire Rope)
- สลิงผ้าเส้นใยสังเคราะห์ (Polyester Sling)
- สลิงยก (Wire Rope Slings)
- โซ่เหล็ก (Steel Chain)
- โซ่ยก (Lifting Chain Slings)
- ชุดตะขอยก (Hooks)
- สเก็น (Shackle) ตัวช่วยเคล้องเกี่ยว
- มาสเตอร์ลิงค์ (Master Link)
- อุปกรณ์เหล็กประกอบชุดยกอื่นๆ (Rigging Hardware) เป็นต้น
ตรวจสอบอุปกรณ์ช่วยยกในงานเครน
ความถี่ในการตรวจเครนต้องตรวจสอบบ่อยแค่ไหน
1. ปั้นจั่นที่ใช้ในงานก่อสร้างพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด
- ไม่เกิน 3 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 6 เดือนพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด
- มากกว่า 3 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 3 เดือน
2. ปั้นจั่นที่ใช้ในงานอื่น ๆพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด
- ตั้งแต่ 1 ตัน ไม่เกิน 3 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 1 ปีพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด
- มากกว่า 3 ตัน ไม่เกิน 50 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 6 เดือนพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด
- มากกว่า 50 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 3 เดือน
3. ปั้นจั่นที่ไม่มีพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ให้วิศวกรเป็นผู้กำหนดพิกัดยก
4. ปั้นจั่นที่หยุดการใช้งานตั้งแต่ 6 เดือนหรือซ่อมแซมที่มีผลต่อความปลอดภัย ให้ทดสอบใหม่ก่อนการใช้งาน
น้ำหนักที่ใช้ในการทดสอบเครนจะต้องใช้ขนาดใด
วิศวกรต้องทดสอบการรับน้ำหนักของปั้นจั่น ตามอายุการใช้งาน
1. ปั้นจั่นใหม่
- ขนาดไม่เกิน 20 ตัน ให้ทดสอบการรับน้ำหนักที่ 1 เท่า แต่ไม่เกิน 1.25 เท่า
- ขนาดมากกว่า 20 ตัน แต่ไม่เกิน 50 ตัน ให้ทดสอบการรับน้ำหนักเพิ่มอีก 5 ตันจากพิกัดยกอย่างปลอดภัย
2. ปั้นจั่นที่ใช้งานแล้ว
- ให้ทดสอบการรับน้ำหนักที่ 1.25 เท่าของน้ำหนักที่ใช้งานจริงสูงสุด โดยไม่เกินพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด
- กรณีที่ปั้นจั่นไม่มีพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ให้วิศวกรเป็นผู้กำหนดพิกัดยกในการทดสอบ
ทั้งนี้ การตรวจเครนปกติแล้ววิศวกรเครื่องกลที่มาตรวจสอบจะต้องได้รับการขึ้นทะเบียนผู้ตรวจสอบเครนไม่ว่าจะเป็นแบบนิติบุคคล หรือ แบบบุคคลทั่วไปก็ตามจะต้องมีเลขทะเบียนอนุญาตตรวจเครน ไม่เช่นนั้นจะถือว่าผิดกฎหมาย และ การตรวจเครนนั้นไม่ถูกต้อง
▶ ALLA เราใส่ใจในความปลอดภัยของผู้ใช้เครน รอก ปั่นจัน ทุกคน ◀
▷ ALLA ตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์รอกและเครน STAHL รายเดียวในประเทศไทยและเอเซียแปซิฟิค ◁
▶ ติดตั้งเครนคุณภาพ ติดตั้งเครนกับออลล่า ◀
สอบถามเพิ่มเติม
🌏 https://bit.ly/3p2cf19
☎️ 02 322 0776-8
#ALLA #รอกเครน #รอกอุตสาหกรรม #เครนอุตสาหกรรม #STAHL #รอกเครนSTAHL #ตัวแทนจำหน่ายรอกเครน #จำหน่ายรอกเครน